สัญญาณความถี่วิทยุที่ส่งลงมาจากดาวเทียมนั้นมีความถี่สูงมาก SHF และมีความแรงของสัญญาณต่ำมากๆ ง่ายต่อการถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ตั้งแต่ชั้นบรรยากาศลงมา เม็ดฝน และความถี่วิทยุอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการลดทอนสัญญาณดาวเทียมให้คุณภาพลดลงหรือสัญญาณอ่อนแอลง จากการที่มันเป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงมากๆ ทำให้ความยาวคลื่นนั้นก็สั้นลงมากๆ เช่นกันในระดับมิลลิเมตรเลยทีเดียว ทำให้สายอากาศรับนั้นสั้นมากไม่เกิน 2 เซนติเมตร หากเอาก้านสายอากาศมารับโดยตรงจะทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ จึงต้องออกแบบสายอากาศให้มีส่วนสะท้อนคลื่นที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็คือตัวจานรับสัญญาณดาวเทียมนั่นเอง จานดาวเทียมมีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือพาราโบลา ใบจานทำมีหน้าที่รับสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุจากดาวเทียม แล้วสะท้อนสัญญาณเข้าสู่ศูนย์กลางในตำแหน่งที่มีหัวรับสัญญาณดาวเทียม (LNB) ภายใน LNB มีสายอากาศลักษณะเป็นก้านสั้นๆ ติดตั้งอยู่ภายในหัว LNB จานดาวเทียมแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
![]() | 1. จานรับสัญญาณที่ใช้ทั้งในการรับและส่งสัญญาณดาวเทียม (VSAT) นิยมนำไปใช้ในการเชื่อมต่อสัญญาณ การถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียม ส่วนใหญ่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นจานทึบ ขนาดใหญ่ มีทั้งระบบ C-Band และ Ku-Band |
![]() | 2. จานรับที่ใช้ในสถานีรับชมโดยเฉพาะ หรือ TVRO เป็นสถานีรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมที่ใช้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป การสังเกตเบื้องต้นว่าจานที่เราเห็นติดตั้งใช้งานทั่วไปตามบ้านเรือนที่พักอาศัยว่าเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมประเภทใด จะเป็นจานดาวเทียมในระบบ C-Band หรือ Ku-Band นั้นพอที่จะสังเกต ได้ดังนี้ |
![]() | – จาน C-Band เป็นจานสายอากาศแบบพาราโบลา (Parabolic) Focus แบบ Center Reflector จานจะจานประเภทที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปนิยมใช้เป็นจานตะแกรง หรือจานดำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-1.8 เมตร และจานขนาดใหญ่ขึ้น 7 ฟุต สำหรับในอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัยที่มีการนำสัญญาณเข้าระบบ MATV หรือ SMATV เพื่อนำสัญญาณไปใช้หลายๆ เครื่องรับ![]() ภาพจาก : https://www.lemmymorgan.com/ |
![]() | – Ku-Band เป็นจานทึบมีขนาดเล็กว่าจาน Ku-Band เป็นจานสายอากาศแบบพาราโบลา (Parabolic) แบบ Offset Reflectorจะมีขนาดตั้งแต่ 35-90 เซนติเมตร และขนาด 120 เซนติเมตรสำหรับงานระบบอาคาร ![]() |
ทำไมจานทั้งสองชนิดนี้มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน นั้นก็เพราะว่าการส่งสัญญาณในย่าน C-Band นั้นครอบคลุมพื้นที่บนโลก หรือ Footprint นั้นกินพื้นที่หลายประเทศเป็นทวีป ทำให้สัญญาณที่ส่งลงมานั้นมีสัญญาณอ่อนลง เหมือนกับเราส่องไฟฉายโดยการปรับ Focus ให้ส่องสว่างในพื้นที่กว้างทำให้แสงไม่เข้ม แต่หากเราปรับ Focus ให้แสงแคบลงจะส่องสว่างได้พื้นที่ไม่กว้างแต่ความเข้มแสงก็มากขึ้นตามมาซึ่งเปรียบเทียบได้กับการส่งสัญญาณดาวเทียมย่าน Ku-Band ที่ครอบคลุมพื้นที่เฉพาะประเทศหรือไม่กี่ประเทศแคบๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากสัญญาณต่ำก็ต้องใช้จานรับดาวเทียมขนาดใหญ่ ซึ่งทางเทคนิคบอกว่ามีเกณฑ์สูง ทำให้สามารถรับสัญญาณที่อ่อนๆ ได้ดีขึ้น ส่วน Ku-Band นั้นสัญญาณที่ส่งลงมามีความเข้มสูง จึงสามารถใช้จานรับสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงมาได้ ซึ่งหากถามว่าแล้วใช้จาน C-Band หรือจานตะแกรงมารับสัญญาณ Ku-Band ได้หรือไม่นั้น ก็สามารถรับได้แต่คุณภาพของสัญญาณอาจจะลดลง ซึ่งปัจจุบันก็มีการใช้จาน C-Band มารับสัญญาณ Ku-Band ซึ่งนิยมทำเป็นแบบ Dual LNB คือมีการติดตั้ง LNB 2 ตัวทั้ง C-Band และ KU-Band อยู่ในจานเดียวกัน และขนาดของจาน Ku-Band ที่เล็กใหญ่ไม่เท่ากันรับสัญญาณได้เหมือนกันหรือไม่ จริงๆ แล้วคุณภาพสัญญาณก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งช่างหรือร้านค้าก็มักใช้คำตอบที่ง่ายๆ ในการอธิบายคือจานเล็กรับช่องได้น้อยกว่าจานใหญ่ นั่นก็คือจานใหญ่มี Gain ที่สูงกว่าทำให้รับสัญญาณในความถี่บางความถี่ที่มีความแรงของสัญญาณต่ำได้ ทำให้ดูเหมือนว่ารับช่องรายการได้มากกว่าจานเล็กนั่นเอง
การหาค่า Focus ตำแหน่งของการติดตั้ง LNB | |
![]() | สูตร F = D^2/16h F = ความยาว Focus สำหรับติดตั้ง LNB D = เส้นผ่านศูนย์กลางของจาน h = ความสูง หรือ ความลึกของจาน ตัวอย่าง : กำหนดให้จานมีเส้นผ่านศุนย์กลางขนาด 185 cm. มีความลึก 30 cm. F = (185^2) x (16×30) F = (185×185) x (16×30) F = 71.30 cm. |